หน้าแรก / บริการทางการแพทย์
ศูนย์รังสีรักษา และมะเร็งวิทยา
ศูนย์รังสีวินิจฉัย
แผนกไตเทียม
ศูนย์อุบัติเหตุ และเวชศาสตร์ฉุกเฉิน
ศูนย์หัวใจและหลอดเลือด
ศูนย์สุขภาพสตรี
หน่วยพยาบาลห้องคลอด
หน่วยพยาบาลทารกแรกเกิด
ศูนย์โรคข้อกระดูกและกล้ามเนื้อ
แผนกอายุรกรรม
แผนกกุมารเวชกรรม
แผนกหู คอ จมูก
ศูนย์จักษุเวชกรรม
แผนกโรคผิวหนัง
แผนกหอผู้ป่วยวิกฤต
ศูนย์เวชศาสตร์ฟื้นฟู
ศูนย์ทันตกรรม
แผนกจิตเวชกรรม
ศูนย์ห้องปฎิบัติการเทคนิกการแพทย์
แผนกเวชปฎิบัติทั่วไป (กองทุนหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า)
แผนกเวชปฎิบัติทั่วไป (กองทุนประกันสังคม)
แผนกผู้ป่วยนอกเฉพาะทาง (กองทุนหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า และกองทุนประกันสังคม)
บริการห้องพักผู้ป่วย
แผนกหอผู้ป่วยใน
เลือกบริการ
รังสีรักษาและมะเร็งวิทยา คือสาขาหนึ่งของรังสีวิทยา เป็นการนำรังสีมาใช้ประโยชน์ในการรักษาโรค เนื่องจากปัจจุบันอุบัติการณ์ของโรคมะเร็งถูกตรวจพบมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง ประกอบกับผู้ป่วยมะเร็งยังมีปัญหาในการเข้าถึงการรักษา ด้วยเหตุของการขาดแคลนการรักษาด้วยรังสีส่งผลให้ระยะเวลาการรอคอยของผู้ป่วยยาวนาน รวมถึงเรื่องค่าใช้จ่ายในการรักษาที่ค่อนข้างสูง จึงส่งผลกระทบต่อการเข้าถึงการรักษาเป็นอย่างมาก ด้วยสาเหตุข้างต้น โรงพยาบาลมงกุฎวัฒนะ จึงพัฒนาขีดความสามารถเพื่อให้ผู้ป่วยสามารถเข้าถึงการรักษาด้วยเทคนิคการรักษาที่มีความซับซ้อนเพื่อประโยชน์สูงสุดสำหรับผู้ป่วยมะเร็งทุกสิทธิการรักษา
บริการผู้ป่วยทุกสิทธิการรักษา
- สิทธิชำระเงินเอง หรือ ประกันส่วนบุคคล
- สิทธิบัตรทอง (30 บาท) ในโครงการมะเร็งรักษาทุกที่ (Cancer Anywhere)
- สิทธิประกันสังคม
- สิทธิข้าราชการ โดยที่โรงพยาบาลต้นสังกัด เห็นสมควรและพิจารณาส่งตัวมารับการรักษาด้วยรังสีรักษา
เครื่องเร่งอนุภาคอิเลคตรอน (Linear Accelerator) SHINVA XHA1400
เครื่องจำลองการรักษาเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ 3 มิติ (CT Simulator) SHINVA XHCT-16
การรักษาด้วยรังสีรักษา แบ่งเป็นกี่อย่าง?
- การรักษาด้วยรังสีระยะไกล (Teletherapy/External Beam Radiation Therapy)
- การรักษาด้วยรังสีระยะใกล้ (Brachytherapy)
การรักษาด้วยรังสีระยะไกล (Teletherapy/External Beam Radiation Therapy)
ขั้นตอนการรักษาด้วยรังสีระยะไกล
- จำลองการรักษาด้วยเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ 3 มิติ พร้อมทำอุปกรณ์ยึดตรึง
- แพทย์และนักฟิสิกส์การแพทย์ วางแผนการรักษา IMRT,VMAT
- ทดสอบแผนการรักษาที่ทำไว้ เพื่อยืนยันว่าเครื่องสามารถให้ปริมาณรังสีได้
- เริ่มการรักษาด้วยการฉายแสง (ไม่เจ็บ ไม่แสบ และรังสีนั้น ไม่ค้างในร่างกาย)
- ก่อนเริ่มฉายแสงจะมีการจัดท่าผู้ป่วยให้สอดคล้องกับการจำลองการรักษา
- ตรวจสอบตำแหน่งด้วย KV-CBCT , EPID เพื่อยืนยันตำแหน่งอีกครั้งก่อนเริ่มฉายแสง
- เริ่มฉายแสง ตามแผนการรักษา
หมายเหตุ : ระหว่างการรักษาฉายแสง จะมีการตรวจระหว่างฉายแสงอย่างน้อย 1 ครั้งต่อสัปดาห์ หรือ หากมีอาการเปลี่ยนแปลงก่อนถึงนัดตรวจระหว่างฉายแสง สามารถแจ้งพยาบาลหรือนักรังสีเทคนิค เพื่อแจ้งแพทย์
ทำไมต้องมีอุปกรณ์ยึดตรึง ?
การรักษาด้วยการฉายแสงนั้น ต้องอาศัยความแม่นยำในการรักษา มิเช่นนั้น ตำแหน่งที่ต้องการรักษาอาจไม่ได้รับปริมาณรังสีเท่าที่ควร ส่งผลให้การรักษานั้นไม่ได้ประสิทธิภาพได้ และอาจทำให้เนื้อเยื่อข้างเคียงเกิดผลข้างเคียงมากขึ้นได้ ดังนั้น การมีอุปกรณ์ยึดตรึงจะช่วยให้ผู้ป่วยสามารถอยู่ในท่าที่นิ่งและเหมือนวันจำลองการรักษาได้มากยิ่งขึ้น
การรักษาด้วยรังสีระยะไกล มีเทคนิคอะไรบ้าง ข้อดี-ข้อเสีย อย่างไร?
เทคนิคการฉายแสง |
ข้อดี |
ข้อเสีย |
การฉายด้วยเทคนิค 2 มิติ (2D Conventional RT) |
สะดวกง่าย รวดเร็ว |
ปริมาณรังสีที่สูงอาจอยู่บริเวณเนื้อเยื่อปกติข้างเคียง ทำให้เกิดผลข้างเคียงได้มาก |
การฉายด้วยเทคนิค 3 มิติ (3D Conformal RT) |
รวดเร็ว เพิ่มโอกาสในการปรับปริมาณรังสี ให้เหมาะสมในบริเวณที่ต้องการรักษาและเนื้อเยื่อปกติข้างเคียง |
ปริมาณรังสีที่สูงอาจอยู่ในบริเวณเนื้อเยื่อปกติข้างเคียงได้ แต่โอกาสน้อยกว่าเทคนิค 2 มิติ |
การฉายด้วยเทคนิคปรับความเข้มรังสี (Intensity Modulated Radiation Therapy/IMAT) หมายเหตุ : ใช้ได้ทุกสิทธิ |
สามารถเพิ่มปริมาณรังสีบริเวณที่ต้องการรักษาได้อย่างเหมาะสม และสามารถลดปริมาณรังสีบริเวณเนื้อเยื่อปกติ จึงเพิ่มโอกาสควบคุมโรคและลดผลข้างเคียงในการรักษาได้ |
|
การฉายด้วยเทคนิคปรับความเข้มรังสีแบบหมุนรอบ (Volumeric Modulated Arc Therapy/VMRT) หมายเหตุ : ใช้ได้ทุกสิทธิ |
สามารถเพิ่มปริมาณรังสีบริเวณที่ต้องการรักษาได้อย่างเหมาะสม และสามารถลดปริมาณรังสีบริเวณเนื้อเยื่อปกติ จึงเพิ่มโอกาสควบคุมโรคและลดผลข้างเคียงในการรักษาได้ และใช้เวลาในห้องฉายรังสีสั้นกว่า การรักษาด้วยเทคนิค IMRT |
|
ขั้นตอนการรักษาด้วยรังสีระยะใกล้
- ใส่สายสวนปัสสาวะ เพื่อควบคุมกระเพาะปัสสาวะ
- ใส่เครื่องมือและอุปกรณ์เพื่อใช้ในการใส่แร่
- ทำเอกซเรย์คอมพิวเตอร์เพื่อนำไปใช้ในการวางแผนการรักษาแบบ 3 มิติ
- ใส่แร่ผ่าเครื่องมือและอุปกรณ์ ด้วยเครื่องใส่แร่
- ถอดเครื่องมือและอุปกรณ์ออก เป็นอันเรียบร้อย
หมายเหตุ : มะเร็งที่มีการใส่แร่บ่อย ได้แก่ มะเร็งทางนรีเวช มะเร็งปากมดลูก มะเร็งเยื่อบุมดลูก เป็นต้น
ติดต่อศูนย์รังสีรักษาและมะเร็งวิทยา โรงพยาบาลมงกุฎวัฒนะ อย่างไรได้บ้าง?
- ติดต่อโดยตรงได้ที่ ศูนย์รังสีรักษาและมะเร็งวิทยา อาคาร 2 ชั้น 1
- เพิ่มเพื่อน Official Line ของศูนย์รังสีรักษาและมะเร็งวิทยา โรงพยาบาลมงกุฎวัฒนะ เพื่อสอบถามรายละเอียดและเตรียมเอกสาร